พลังงาน (Energy) หมายถึง พลังต่างๆ ที่นำมาใช้ให้เกิดงาน พลังต่างๆ เช่น ไฟฟ้า น้ำมัน ถ่าน ฟืน ลม แสงอาทิตย์ เป็นต้น พลังงานแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. พลังงานใช้แล้วหมด หรือที่เรียกกันว่า พลังงานฟอสซิล ซึ่งเป็นพลังงานสิ้นเปลือง พลังงานพวกนี้ได้แก่ น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ
2.พลังงานใช้ไม่หมด หรือพลังงานหมุนเวียน ได้แก่ แกลบ ชานอ้อย ชีวมวล (เช่น มูลสัตว์ และก๊าซชีวภาพ) น้ำ แสงอาทิตย์ คลื่น
พลังงานไฟฟ้า เป็นพลังงานที่เปลี่ยนมาจากพลังงานรูปอื่น ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนผ่านตัวนำไฟฟ้า โดยอิเล็กตรอนเคลื่อนจากขั้วที่จ่ายอิเล็กตรอนได้ดีไปสูขั้วที่รับอิเล็กตรอนได้ดี(ขั้วลบไปหาขั้วบวก)แต่ไฟฟ้าเป็นกระแสสมมุติเคลื่อนสวนทางกับอิเล็กตรอนจากขั้วบวกไปขั้วลบ
พลังงานน้ำมัน เป็นพลังงานที่เกิดจากซากสัตว์และซากพืชที่ตายมานานเป็นล้านปี ทับถมสะสมกันจมอยู่ใต้ดิน แล้วเปลี่ยนรูปเป็น “ฟอสซิล” ซึ่งระหว่างนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติจนฟอสซิลกลายเป็นน้ำมันดิบ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ เราจึงเรียนเชื้อเพลิงประเภทนี้ว่า “เชื้อเพลิงฟอสซิล”
พลังงานเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตของประชาชนทั่วโลก เป็นปัจจัยที่ทำให้โลกมีการพัฒนาขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ พลังงานได้เป็นสิ่งที่มีความเป็นสากล เนื่องจากพลังงานเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อทุกๆ อย่าง และมีความสำคัญต่อทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของโลก
เมื่อเราได้รู้จักกับพลังงานและรู้ถึงความสำคัญของพลังงานกันแล้ว ก็น่าจะถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องหันมาช่วยกัน ประหยัดพลังงาน เพื่อให้สามารถมีพลังงานใช้ได้ตลอดไป ด้วยวิธีการง่ายๆ คือ
1.ด้านประหยัดพลังงานไฟฟ้า
1.1 คอมพิวเตอร์
- ไม่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้นาน ๆ
- ถอดปลั๊กเมื่อเลิกใช้งาน
- ปิดจอภาพเมื่อไม่ใช้งานนานเกินกว่า 15 นาที
- ตั้งคอมพิวเตอร์ในบริเวณที่มีการระบายความร้อนได้ดี
- เลือกใช้คอมพิวเตอร์ที่มีระบบประหยัดพลังงานมีสัญลักษณ์ Energy Star
- ควรซื้อจอภาพที่มีขนาดไม่ใหญ่เกินไป
1.2 โทรทัศน์
- เลิกเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้เมื่อไม่มีคนดู
- เลิกปรับจอภาพให้สว่างเกินความจำเป็น
- เลิกเปิดโทรทัศน์หลายเครื่องเพื่อดูเรื่องเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน
- เลิกปิดโทรทัศน์ด้วยตัวรีโมทคอนโทรล เพราะเปลืองไฟกว่า
- เลือกซื้อโทรทัศน์ขนาดให้เหมาะสมกับความจำเป็น
1.3 เครื่องปรับอากาศ
- ตั้งอุณหภูมิที่ระดับร่างกายรู้สึกสบาย โดยไม่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส
- ถ้าไม่อยู่ในห้องมากกว่า 1 ชั่วโมง ควรปิดเครื่องปรับอากาศ
- ไม่ปลูกต้นไม้หรือตากผ้าในห้องที่มีการปรับอากาศ เพราะไปเพิ่มความชื้น ทำให้เครื่องทำงานหนักขึ้น
- หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศอย่างสม่ำเสมอ อย่าให้มีฝุ่นเกาะ
- อย่านำสิ่งของไปวางขวางทางลมเข้า - ออก ของชุดระบายความร้อนที่อยู่นอกบ้าน
- อย่าติดตั้งชุดระบายความร้อนใกล้ผนังเกินไป
- เลือกขนาดเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับห้อง
1.4 หลอดไฟฟ้า
- ปิดหลอดไฟบางบริเวณให้เร็วกว่าที่เคยปฏิบัติ
- อย่าเปิดไฟทิ้งไว้เมื่อไม่มีคนอยู่
- ลดจำนวนหลอดไฟในบริเวณที่อาศัยแสงธรรมชาติได้
- อย่าใช้หลอดไฟที่ไม่ได้มาตรฐาน
- หมั่นทำความสะอาดตัวหลอดและโคมไฟไม่ให้มีฝุ่นเกาะ
1.5 พัดลม
- เลิกเปิดทิ้งไว้เมื่อไม่มีใครอยู่
- ถ้าใช้พัดลมที่มีระบบรีโมทคอนโทรลต้องถอดปลั๊กทันทีที่เลิกใช้
- ยิ่งเปิดลมแรงขึ้น ยิ่งใช้ไฟมากขึ้น
- ทำความสะอาดใบพัด ตะแกรงครอบและแผงหุ้มมอเตอร์พัดลม อย่าให้มีฝุ่นเกาะ
- ตั้งพัดลมในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
1.6 กระติกน้ำร้อน
- เลิกใส่น้ำเกินกว่าที่ต้องการใช้
- อย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้นานก่อนการใช้งานจริง
- เลิกต้มน้ำในห้องที่มีการปรับอากาศ
- ถอดปลั๊กทันทีที่เลิกใช้
- อย่านำน้ำเย็นไปต้มทันที
2.ด้านประหยัดพลังงานน้ำมัน
- วางแผนกำหนดเส้นทางเป้าหมายก่อนออกเดินทาง
- ไม่ควรบรรทุกหนักเกินไป หลีกเลี่ยงการบรรทุกสิ่งของที่ไม่จำเป็น
- ตรวจวัดลมยางอยู่เสมอ ปรับลมยางให้เหมาะสมตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตรถยนต์แนะนำในคู่มือการใช้รถ
- ตรวจรถยนต์ประจำวัน โดยใช้เวลาอย่างน้อย 2 - 3 นาทีในแต่ละวัน ตรวจจุดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของรถก่อนออกเดินทาง
- ปิดเครื่องปรับอากาศ ไฟหน้ารถ เครื่องเสียงทุกครั้งก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์
- ทางเดียวกันไปรถคันเดียวกัน
- ทุกครั้งก่อนจะออกรถควรอุ่นเครื่องยนต์ให้เครื่องทำงานถึงอุณหภูมิปกติ (ประมาณ 80 องศาเซลเซียส) หรือเมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ให้ทำงานแล้วควรปล่อยทิ้งไว้ 1 – 2 นาที
- ไม่ควรออกรถกระชากและเลี้ยวอย่างกะทันหัน
- เลือกใช้เกียร์ให้เหมาะสมกับความเร็ว
- ไม่ควรเบรกอย่างรุนแรง
- อย่าเหยียบคลัตช์โดยไม่จำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้แผ่นคลัตช์สึกหรอเร็ว
- ขับรถที่ความเร็วประหยัด ควรขับรถด้วยความเร็วสม่ำเสมอในอัตราที่เหมาะสม คือ 80 – 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่ 1,800 รอบต่อนาที
- ควรเปิดเครื่องปรับอากาศแต่พอเหมาะ ปรับปุ่มความเย็นและความแรงลมให้สัมพันธ์กัน
- ไม่ควรติดเครื่องยนต์ระหว่างจอดรถรอ
จะเห็นได้ว่าการประหยัดพลังงานเป็นเรื่องที่ไม่ยากเลย และทุกคนสามารถทำได้ สามารถประหยัดพลังงานได้ด้วยตัวคุณเอง แต่ทุกคนจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของการประหยัดพลังงานและที่สำคัญต้องมีการปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อที่จะได้มีพลังงานเหลือใช้ไปตลอดจนชั่วลูกชั่วหลานต่อไป
การประหยัดพลังงานในบ้าน
1. ออกแบบบ้านและหันทิศทางของบ้านให้เหมาะสมเลือกซื้อบ้านหรือออกแบบบ้านที่มีลักษณะโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีการระบายความร้อนได้ดี สำหรับทิศทางของบ้านควรหันหน้าไปในแนว ทิศเหนือ - ใต้ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้แสงอาทิตย์เข้าสู่ช่องเปิดของอาคารโดยตรง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรใช้อุปกรณ์บังแดด เช่น ติดตั้งกันสาด หรือปลูกต้นไม้ช่วย และ สร้างบ้านด้วยวัสดุที่เป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี ตั้งแต่หลังคาจนถึง กรอบผนัง2. ปลูกต้นไม้เพื่อให้ร่มเงาแก่ตัวบ้านจะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าเพื่อปรับอากาศและถ่ายเทอากาศ
4. ใช้น้ำอย่างประหยัด
น้ำประปาที่เราใช้มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่ผ่านกระบวนการกรองและ ฆ่าเชื้อจนสะอาดและบริโภคได้ ซึ่งต้องอาศัยพลังงานในกระบวนการเหล่านั้น ดังนั้น การใช้น้ำอย่างประหยัดจึงเป็นการประหยัดพลังงานด้วย
น้ำประปาที่เราใช้มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่ผ่านกระบวนการกรองและ ฆ่าเชื้อจนสะอาดและบริโภคได้ ซึ่งต้องอาศัยพลังงานในกระบวนการเหล่านั้น ดังนั้น การใช้น้ำอย่างประหยัดจึงเป็นการประหยัดพลังงานด้วย
7. การใช้หลอดแสงสว่าง
8. การใช้ตู้เย็น
เปลืองไฟฟ้ามาก
9. การใช้เครื่องปรับอากาศ
10. การใช้เครื่องทำน้ำอุ่นสำหรับอาบน้ำ
11. การใช้กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าหรือกาต้มน้ำไฟฟ้า
- เมื่อน้ำเดือด
- เมื่อไม่มีคนอยู่ เพราะนอกจากจะไม่ประหยัดพลังงานแล้วยังอาจทำให้เกิด อันตรายได้
12. การใช้เตาไฟฟ้าและเตาอบ
- ภาชนะควรมีก้นแบนราบ จะได้สัมผัสความร้อนได้ทั่วถึง
- ภาชนะไม่ควรมีขนาดเล็กกว่าเตา จะสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์
- ภาชนะควรมีฝาครอบปิดขณะหุง จะช่วยให้อาหารสุกเร็วขึ้น
13. การใช้เตารีดไฟฟ้า
14. การใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้าอัตโนมัติ
15. การใช้โทรทัศน์
16. การใช้เครื่องซักผ้า
17. การใช้เครื่องสูบน้ำ
คลิปการประหยัดพลังาน